ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ใหม่ของ อบต.ดอยหล่อ www.doilor.go.th                               ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ดอยหล่อ โทร. 0-5336-9049 ต่อ 10 (ตลอด 24 ชั่วโมง)                               สายตรงนายก อบต.ดอยหล่อ 093-1409904
 ข้อมูล อบต.

ว่าที่ร้อยตรี สุรพงค์ กาบวัง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ
โทร. 093-1409904

msgQ&A สายตรงนายก

นายศฤงคาร อุปนันต์ - หัวหน้าสำนักปลัด รักษาราชการแทน<br>ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ<br>โทร. 089-5569496

นายศฤงคาร อุปนันต์

หัวหน้าสำนักปลัด รักษาราชการแทน
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ
โทร. 089-5569496


informationประวัติของอบต.และข้อมูลทั่วไป

ประวัติของอบต.และข้อมูลทั่วไป

 ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ

        องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 9 ง ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2539 หน้า 45 ประกาศให้เป็นอบต.ชั้น 5 ได้รับการเลื่อนชั้นเป็น อบต.ระดับกลาง เมื่อ พ.ศ.2540 และได้รับการเลื่อนชั้นเป็น อบต.ขนาดใหญ่ เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2556 และกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ (ขนาดใหญ่) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลประเภทสามัญ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 จนถึงปัจจุบัน

1. สภาพทั่วไป

          1.1 ลักษณะทางภูมิศาสตร์
                ตำบลดอยหล่อ  อำเภอดอยหล่อ  จังหวัดเชียงใหม่  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ 45  กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด  93 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  57,500  ไร่  มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
      ทิศเหนือ  ติดต่อกับ  ตำบลสันติสุข  , ตำบลสองแคว  อำเภอดอยหล่อ
      ทิศใต้   ติดต่อกับ  ตำบลข่วงเปา    อำเภอจอมทอง
      ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  อำเภอเวียงหนองล่อง  ,อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน
      ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  เทือกเขาถนนธงชัย (ดอยอินทนนท์)
- สภาพภูมิประเทศ  มีเปอร์เซ็นต์ความลาดชัน 2 – 5 %  สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอนและมีที่ราบเชิงเขาลาดเอียงไปทางทิศใต้ของตำบลและมีที่ราบลุ่มติดแม่น้ำ  ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวน  ป่าเสื่อมโทรม  มีพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของตำบลจะเป็นที่สูง  เป็นภูเขาส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เขตป่าสงวน ,ป่าเสื่อมโทรมมีพื้นที่ทำการเกษตรเพียงบางส่วน  โดยมีการจำแนกเป็นพื้นที่ราบ 52,500 ไร่  (ร้อยละ 91.3 ) ภูเขา  2,500  ไร่  (ร้อยละ 4.3 ) และพื้นที่น้ำ 2,000  ไร่  (ร้อยละ 3.4 ) อื่น ๆ  จำนวน  500  ไร่ (ร้อยละ  1 ) 
-   สภาพภูมิอากาศ ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 28.9  องศาเซลเซียสปริมาณน้ำฝน  218.02  มม.  ฤดูฝน  ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม  อุณหภูมิเฉลี่ย 24.6  องศาเซลเซียสปริมาณน้ำฝน  549.65  มม.
ฤดูหนาว  ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน  ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย  22.75 องศาเซลเซียส   ปริมาณน้ำฝน  71.07  มม.

          1.2 พื้นที่และเขตการปกครอง
                ตำบลดอยหล่อ  มีพื้นที่ทั้งหมด  93  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  57,500  ไร่  โดยแบ่งการ ปกครองออกเป็น 26 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่
     หมู่ที่ 1 บ้านสันหิน                      
     หมู่ที่ 2 บ้านเหล่าป๋วย        
     หมู่ที่ 3 บ้านเหล่าเป้า                   
     หมู่ที่ 4 บ้านปากทางเจริญ  
     หมู่ที่ 5 บ้านห้วยโจ้                     
     หมู่ที่ 6 บ้านดอยหล่อ
     หมู่ที่ 7 บ้านวังขามป้อม               
     หมู่ที่ 8 บ้านดงป่าหวาย   
     หมู่ที่ 9 บ้านปากทางสามัคคี          
     หมู่ที่ 10  บ้านท่าโชค      
     หมู่ที่ 11  บ้านดอยน้อย                
     หมู่ที่ 12  บ้านห้วยทัง  
     หมู่ที่ 13  บ้านสิริมังคลาจารย์         
     หมู่ที่ 14 บ้านหลังม่อน 
     หมู่ที่ 15 บ้านห้วยเปายง               
     หมู่ที่ 16 บ้านไร่พัฒนา
     หมู่ที่ 17 บ้านใหม่พัฒนา              
     หมู่ที่ 18  บ้านโทกเสือ
     หมู่ที่ 19 บ้านท่าล้อ                   
     หมู่ที่ 20 บ้านห้วยทราย
     หมู่ที่ 21 บ้านไร่สว่างอารมณ์         
     หมู่ที่ 22 บ้านวังธารทอง
     หมู่ที่ 23 บ้านไร่บน                    
     หมู่ที่ 24 บ้านดอนชื่น
     หมู่ที่ 25 บ้านเวียงทอง                 
     หมู่ที่ 26 บ้านไร่บวกบง

           1.3 ประชากร
                 ตำบลดอยหล่อ มีประชากรรวมทั้งสิ้น  12,227  คน  แยกเป็นชาย  5,982  คน  หญิง  6,245 คน  จำนวนครัวเรือน  5,364  ครัวเรือน (จากการสำรวจ ณ  วันที่ 17 ตุลาคม 2560)   ประชากรตำบลดอยหล่อ  90 %  เป็นคนในพื้นที่ และอีก 10 %  เป็นคนในภาคกลาง ซึ่งเป็นทหารผ่านศึกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่รัฐบาลได้จัดสรรให้ และนอกจากนี้ยังมีแรงงานอพยพ เช่น พม่า,ไทยมูเซอ,ไทยใหญ่, ไทยลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาทำงานในสวนลำไยของชาวบ้านในตำบลดอยหล่อ  และบางส่วนก็เป็นพระภิกษุ สามเณร ที่เข้ามาจำพรรษาอยู่ในวัด

2.  โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

        2.1 การท่องเที่ยวและการบริการ
              ตำบลดอยหล่อ มีแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ  วัดพระธาตุดอยหล่อ ซึ่งเป็นวัดที่สำคัญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลดอยหล่อ มีพระพุทธรูปไม้เก่าแก่อายุหลายร้อยปีประดิษฐานอยู่ และมีอาคารไม้เก่าแก่หาดูได้ยากยาก วัดพระธาตุดอยน้อย สร้างในสมัยพระนางจามเทวี เมื่อปี พ.ศ.1201 นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวชมสถาปัตยกรรมแบบล้านนาอันงดงาม  และจุดชมวิวครอบคลุมถึงจังหวัดลำพูน ผาช่อ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากตะกอนแม่น้ำและเปลี่ยนเส้นทางเมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว ทำให้เกิดการก่อตัวเป็นชั้น ๆ มีลวดลายสวยงาม ลักษณะคล้ายกำแพง และเสาหินขนาดใหญ่ สูงราว 30 เมตร  มีจุดเด่น คือ ความแปลกของหินคล้ายเสาย้อยลงมาจากภูเขา อยู่ห่างจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อไปประมาณ 6 กิโลเมตร  นักท่องเที่ยวต่างขนานนามว่า "แกรนด์แคนยอนเมืองไทย" กิ่วเสือเต้น เกิดจากการตกตะกอนของลำน้ำปิง และเปลี่ยนเส้นทางเมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว มีลวดลายสวยงาม ลักษณะคล้ายเป็นกำแพงและเสาหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากผาช่อไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

         2.2 ภาคอุตสาหกรรม
               ภาคอุตสาหกรรมของตำบลดอยหล่อ  ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ได้แก่ 
 - บริษัทโฟร์ที จำกัด   จำนวน  1 แห่ง
 - บริษัทไทยเวลลี่  อุตสาหกรรมน้ำผึ้ง จำกัด จำนวน  1 แห่ง
 - โรงน้ำดื่ม  จำนวน  2 แห่ง
 - โรงสีขนาดกลาง  จำนวน  10  แห่ง
 - โรงสีขนาดเล็ก   จำนวน  5 แห่ง
 - โรงน้ำแข็ง   จำนวน  1 แห่ง
 - โรงอบลำไย  จำนวน  10 แห่ง
 - บริษัทปุ๋ยอินทรีย์ฟอสเฟสจำกัด  จำนวน  1 แห่ง

         2.3 ภาคเกษตรกรรม
              ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลดอยหล่อมีอาชีพเกษตรกรรม  ถึงร้อยละ 70 ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ลำไย  , ข้าว ,แคนตาลูป ,มะเขือเทศ , ฟักทองแฟนซี  เป็นต้น  โดยเฉพาะลำไย เป็นพืชที่มีความนิยมปลูกมากที่สุด  และเป็นสินค้าทางการเกษตรที่ส่งออกและทำรายได้ให้แก่ตำบลมากที่สุด
 
         2.4 การส่งเสริมการลงทุน
               การส่งเสริมการลงทุน มักมาจากเงินทุนสนับสนุนโครงการต่าง ๆ  ของรัฐบาลที่จัดสรรให้แก่ อบต.นอกจากนี้ยังมีเงินทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น ๆ  ที่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการสามารถกู้ยืมนำมาลงทุนได้ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ  เป็นต้น

         2.5 การเงินการธนาคาร
               ในตำบลดอยหล่อมีธนาคารจำนวน  1  แห่ง  คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตั้งอยู่หมู่ที่  4  บ้านปากทางเจริญ

         2.6 การค้าขาย
               ตำบลดอยหล่อมีตลาดท้องถิ่น 1  แห่ง
 ร้านค้าปลีก 79 แห่ง
                             
3.  สภาพทางสังคม

        3.1 การศึกษา
              ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  1 แห่ง
              โรงเรียนอนุบาล      -  แห่ง
              โรงเรียนประถมศึกษา  7   แห่ง
              โรงเรียนมัธยมศึกษา   1  แห่ง
              ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง

   
       3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
             - วัด             15   แห่ง
             - สำนักสงฆ์    3    แห่ง
             - โบสถ์          1   แห่ง

       3.3 สาธารณสุข
             สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน    3    แห่ง
             ร้านขายยาแผนปัจจุบัน    3    แห่ง
             โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน  30  เตียง   1   แห่ง
             อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ 100

      3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
           สถานีตำรวจ  1 แห่ง
           สถานีดับเพลิง  1 แห่ง  

4. การบริการพื้นฐาน

     4.1  การคมนาคม
          - การคมนาคมสายหลัก  ใช้ทางหลวงแผ่นดิน  108  (สายเชียงใหม่ – ฮอด)   ระยะ  ทาง 88 กม.
          - การคมนาคมภายในหมู่บ้าน 
             ถนนคอนกรีต   ระยะทาง    13,954    เมตร  
             ถนนลาดยาง    ระยะทาง    31,478    เมตร
             ถนนลูกรัง       ระยะทาง   120,895    เมตร
             ทั้งนี้การคมนาคมบางส่วนไม่สะดวกในช่วงฤดูฝน

     4.2 การโทรคมนาคม
           ตำบลดอยหล่อมีครัวเรือนที่มีโทรศัพท์บ้านใช้ ร้อยละ 34.28   ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งมีจำนวน  1,109  เลขหมาย
 
     4.3 การไฟฟ้า
           ตำบลดอยหล่อมีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น  3,068   ครัวเรือน     คิดเป็นร้อยละ  100  ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
 
     4.4  แหล่งน้ำธรรมชาติ
            ลำห้วย    4   แห่ง
            บึง, หนองน้ำอื่น 14   แห่ง

     4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น   
           ฝาย    2    แห่ง
           บ่อน้ำตื้น  450   แห่ง
           บ่อบาดาล   6   แห่ง

5. ข้อมูลอื่นๆ

    5.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
          สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอนและมีที่ราบเชิงเขาลาดเอียงไปทางทิศใต้ของตำบลและมีที่ราบลุ่มติดแม่น้ำ  ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวน  ป่าเสื่อมโทรม  มีพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของตำบลจะเป็นที่สูง  เป็นภูเขาส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เขตป่าสงวน ,ป่าเสื่อมโทรมมีพื้นที่ทำการเกษตรเพียงบางส่วน

    5.2 มวลชนจัดตั้ง
         ลูกเสือชาวบ้าน   24  คน
         ไทยอาสาป้องกันชาติ   80   คน
         กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ  130  คน      
         อปพร.  95  คน

   5.3 ข้อมูลด้านความยากจน
         ผลจากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จากจำนวนครัวเรือนในตำบลดอยหล่อทั้งหมด 3,068 ครัวเรือน  มีครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 20,000  บาทต่อครัวเรือนต่อปี (จากข้อมูล จ.ป.ฐ. ปี 2548 ) มีจำนวน  215  ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละ 7  ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด โดยภาพรวมประชาชนในตำบลดอยหล่อ มีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ  40,730  บาท ต่อครัวเรือนต่อปี   (อ้างอิงจาก จ.ป.ฐ. ปี 2548 )
โครงการขอพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย  มีเกษตรกรในตำบลดอยหล่อเข้าร่วมโครงการทั้งหมด   296  ราย
เป็นเกษตรกรที่ขอพักชำระหนี้ 85   ราย    วงเงิน       7,110,748   บาท
เป็นเกษตรกรที่ขอลดภาระหนี้ 211   ราย  วงเงิน      11,656,000   บาท
รวมวงเงินที่ขอพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ จำนวน     18,766,748   บาท
 
         โครงการกองทุนหมู่บ้านมีหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการจำนวน 26  หมู่บ้าน  มีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 2,181 ราย  รวมเป็นเงินหมุนเวียนให้แก่สมาชิกเป็นเงิน  24,200,000   บาท
 
         โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  ตำบลดอยหล่อ  มีจำนวนผลิตภัณฑ์ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  จำนวน  15  ผลิตภัณฑ์  อาทิเช่น  ไวน์สมุนไพรคนเมือง  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ติดอันดับ  1  ใน  10  จากการประกวดระดับจังหวัด  มีศูนย์การผลิตอยู่ที่  หมู่ที่  22  บ้านวังธารทอง  และผลิตภัณฑ์จักสานจากสมุดโทรศัพท์  หมู่ที่  18  บ้านโทกเสือ  ซึ่งได้ผลิตภัณฑ์ระดับ  4  ดาว  จังหวัดเชียงใหม่ และระดับ  3  ดาว  ภาคเหนือ  จากการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ( OPC ) ปี 2546  เป็นต้น
 
         โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ( 30  บาทรักษาทุกโรค )  จากข้อมูลประชากรตำบล   ดอยหล่อ  12,730  คน  มีผู้ผ่านการอนุมัติให้  มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า จำนวน  10,942  คน  หรือคิดเป็นร้อยละ  84.6  เป็นผู้มีบัตรประกันสังคม  1,195  คน  คิดเป็นร้อยละ  9.3  และเป็นข้าราชการ 437  คน  หรือคิดเป็นร้อยละ  3.3


แชร์หน้านี้: